งูปี่แก้วลายแต้ม/Small-banded Kukri Snake (Oligodon fasciolatus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ลําตัวมีด้านบนของหัว และบนหลังเป็นพื้นสีเทาหรือสีน้ําตาลเทาหรือสีน้ําตาลหรือสีน้ําตาลแดง บริเวณส่วนปลายของหัว มีแถบสีเข้มจากขอบปากบนผ่านตา แล้วพาดขวางด้านบนของหัวไปด้านตรงข้าม ตัวแถบที่อยู่ตรงกลางหัวขยายกว้าง ทางด้านท้ายตามีแถบกว้างสีเข้มพาดเฉียงลงไปที่มุมขากรรไกร พื้นที่ระหว่างตาทั้งสองข้างและในแนวกลางของหัวมีแถบสีเข้มไปที่ท้ายทอยและตัวแถบขยายกว้างขึ้นแล้วแยกเป็นตัว Yลงไปที่ด้านข้างของลําคอ (chevron-shaped mark) บนหลังในแนวกลางตัวไปถึงปลายหางมีปื้นใหญ่รูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปรีตามขวางพาดขวางเป็นระยะ พื้นที่ตรงกลางระหว่างปื้น ทุกปื้นมีแถบสีเข้มแต่ไม่ชัดเจนพาดขวาง 3 แถบ ) หัวแบนและส่วนของหัวกว้างกว่าลําคอ ส่วนปลาย ของหัวมนและมีแผ่นเกล็ดจมูก (rostral scale) เป็นแผ่นใหญ่และหนา ตาเล็ก ลําตัวกลมและค่อนข้างสั้น หางค่อนข้างสั้น ผิวหนังลําตัวมีเกล็ดปกคลุม เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังและทางด้านบนของหางเล็กและมีพื้นผิวเรียบเกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ดรอบลําตัวในตําแหน่งกึ่งกลางตัวจํานวน 21,22 เกล็ด เกล็ดท้องจํานวน 162 เกล็ด และเกล็ดใต้หางจํานวน 49 เกล็ด

ถิ่นอาศัย :

พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม การแพร่กระจายในไทย ได้แก่ เชียงใหม่ (ดอยสุเทพ); นครราชสีมา (สะแกราช); อุบลราชธานี(ยอดโดม); สระแก้ว (ตาพระยา); จันทบุรี(เขาสระบาป, เขาสอยดาว); ชลบุรี(บางละมุง); กรุงเทพฯ; ชุมพร; นครศรีธรรมราช (ลานสะกา)

อาหาร :

หนู กบ เขียด งูเล็กๆ

พฤติกรรม :

ใช้เขี้ยวกรีดเปลือกไข่สัตว์เลื้อยคลานแล้วดูดกิน

อนุกรมวิธาน

CLASS : Reptilia

ORDER : Squamata

FAMILY : Colubridae

GENUS : Oligodon

SPECIES : Small-banded Kukri Snake (Oligodon fasciolatus)

ขนาดและน้ำหนัก :

เป็นงูขนาดเล็กความยาวจากหัวถึงปลายหางประมาณ 0.88 เมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560