กระรอกหลากสี/Finlayson's Squirrel (Callosciurus finlaysonii)

สิ่งที่น่าสนใจ :

เป็นกระรอกขนาดกลางที่มีสีสันหลากหลายมาก มีความแปรผันสูงตามสภาพภูมิประเทศและการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล มีทั้งสีขาวล้วน แดงล้วน ดำล้วน บางตัวมีสีขาวกับดำ หรือสีเทากับแดง บางตัวหัว หลัง และหางเป็นสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านข้างเป็นสีน้ำตาลแกมเขียว น้ำตาลแดง และมักมีท้องสีน้ำตาลแดง ตัวเมียจะมีเต้านม 2 คู่

ถิ่นอาศัย :

พบแพร่กระจายด้านตะวันออกของพม่า ทุกภาคของไทยยกเว้นภาคใต้ ลาว กัมพูชา และตอนใต้ของเวียดนาม ป่าดงดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ไปจนถึงสวนผลไม้ สวนสาธารณะ และแหล่งชุมชน

อาหาร :

กินผลไม้เป็นอาหารหลัก ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ดพืช บางครั้งกินแมลงหรือเปลือกไม้

พฤติกรรม :

เป็นกระรอกที่ออกหากินช่วงกลางวัน ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ตามป่าดงดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ไปจนถึงสวนผลไม้ สวนสาธารณะ และแหล่งชุมชน พบทั้งที่อยู่ลำพังและอยู่กันเป็นกลุ่ม ทำรังอยู่บนยอดไม้สูง เคลื่อนที่บนกิ่งไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว

อนุกรมวิธาน

CLASS : Mammalia

ORDER : Rodentia

FAMILY : Sciuridae

GENUS : Callosciurus

SPECIES : Variable Squirrel (Callosciurus finlaysonii)

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

อายุเฉลี่ย :

8 ปี

วัยเจริญพันธุ์ :

ฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ถึงมีนาคม ออกลูกครั้งละประมาณ 2 ตัว

ขนาดและน้ำหนัก :

เป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวตั้งแต่ปลายจมูกถึงโคนหาง 21-22 เซนติเมตร หางยาว 22 – 24 เซนติเมตร ขาหลังยาว 4.5-5 เซนติเมตร หูยาว 1.9-2.3 เซนติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560