กระจงหนู/Lesser Oriental Chevrotain (Tragulus kanchil)

สิ่งที่น่าสนใจ :

กระจงหนูเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกจัดอยู่ในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระจงเล็กหน้าตาคล้ายเก้งและกวางแต่ไม่มีต่อมน้ำตาเหมือนเก้งและกวางปลายจมูกถึงโคนหาง 40 – 48 เซนติเมตร หางยาว 6.5 – 8 เซนติเมตร เล็กกว่ากระจงควายความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ประมาณ 20 เซนติเมตร หัวมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว กะโหลกศีรษะคล้ายกระจงควายแต่มีขนาดเล็กกว่าไม่มีเขาสีขนหลากหลายแต่ขนบริเวณหลังมีสีน้้าตาลออกแดงท้องสีขาวหรือขาวเหลืองมีแถบสีขาวใต้คอ 3 แถบและมีแถบรูปตัว V กลับหัวขาเล็กมีนิ้วเท้า4นิ้วเดินโดยใช้ปลายกีบท้าให้ขาไม่โค้งงอ ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขาแต่มีเขี้ยวงอกยาวพ้นริมฝีปากเขี้ยวของกระจงหนูตัวผู้ยาวกว่าตัวเมียน้้าหนัก 0.7 - 2 กิโลกรัม กระจงหนูที่เจริญเต็มวัยแล้วจะมีฟันทั้งหมดจำนวน 34 ซี่ แยกออกเป็นฟันบนจำนวน 14 ซี่ โดยเป็นฟันเขี้ยว 2 ซี่ ฟันกรามหน้า (premolar) 6 ซี่ และฟันกรามหลัง (incisors) 6 ซี่ ทั้งฟันบนและฟันล่าง

ถิ่นอาศัย :

แนวป่าตะวันตก แนวเขาหินปูนภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ป่าพื้นที่ต่้า ความสูงไม่เกิน 600 เมตรพบได้ทั้งในป่าดั้งเดิมและป่าชื้นสองรวมถึงพื้นที่กสิกรรมและป่าที่มีการทำไม้ ชอบอยู่ในที่ใกล้แหล่งน้ำ มีการกระจายพันธุ์ในประเทศพม่าตอนใต้ คาบสมุทรอินโดจีน ไทย มาเลเซีย สุมาตรา ชวาและบอร์เนียว ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาคตั้งแต่จังหวัดน่าน แพร่ ลงมาจนถึงจังหวัดนราธิวาส ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบมากกว่าป่าโปร่ง มักจะซ่อนตัวอยู่ตามพุ่มไม้หนา ๆ หรือตามโพรงไม้

อาหาร :

กินผลไม้ที่ตกอยู่ตามพื้น ใบไม้ เห็ดบางชนิด แมลง ปลา และเนื้อสัตว์ มักเลือกกินใบไม้และผลไม้ที่อวบน้ำซึ่งมีเส้นใยน้อย และจะไม่กินหญ้าเป็นอาหาร เพราะมีเส้นใยมากและมีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ชอบกินดินโป่งเป็นประจำ

พฤติกรรม :

สัตว์กีบขนาดเล็กมาก หากินทั้งกลางวันและกลางคืนตามล้าพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์และมีลูกอ่อนจึงจะอยู่เป็นคู่โดยมีทางเดินหาอาหารหรือด่านของมันเองเป็นทางเล็กๆ ปกคลุมด้วยไม้ พื้นล่างที่รกทึบอาศัยตามป่ารกชัฏป่าไม้ต้นเตี้ยๆ พื้นที่หากินระหว่างตัวผู้และตัวเมียซ้อนทับกันค่อนข้างมาก แต่พื้นที่ของระหว่างเพศเดียวกันจะไม่ซ้อนทับกันมากนัก กระจงเป็นสัตว์ขี้อายตกใจง่าย ระมัดระวังตัวเสมอเวลาพบศัตรูก็สามารถวิ่งหนีได้อย่างคล่องแคล่ว

สถานภาพปัจจุบัน :

เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern) Iucnredlist, 2014

อื่นๆ :

การจำแนกชนิด: ขนาดเล็กกว่ากระจงควาย ลายแถบสีขาวที่หน้าอกมีแถบเดียวของกระจงควายมี 2 แถบ

อนุกรมวิธาน

CLASS : Mammalia

ORDER : Cetartiodactyla

FAMILY : Tragulidae

GENUS : Tragulus

SPECIES : Lesser Oriental Chevrotain (Tragulus kanchil)

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern) Iucnredlist, 2014

วัยเจริญพันธุ์ :

ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม กระจงหนูเพศเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 146 วัน และตกลูกตัวแรกเมื่อมีอายุ 286 วัน ส่วนในเพศผู้จะช้ากว่าในเพศเมีย จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 246 วัน ก่อนผสมพันธุ์ตัวเมียจะใช้ขาหลังเคาะที่พื้นดินประมาณ 8 ครั้งในเวลาประมาณ 3 วินาทีให้ตัวผู้ได้ยินใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 140 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัวในช่วงปลายฤดูฝน ความผูกพันระหว่างแม่กับลูกมีน้อยมาก ลูกจะเข้าหาแม่ในเวลาที่ต้องการกินนมเท่านั้น อายุ 3 เดือน จึงจะหย่านมและโตเต็มวัยเมื่ออายุ 5 เดือน

ขนาดและน้ำหนัก :

ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: ความสูงจากพื้นถึงไหล่ (Shoulder height) 20 - 23 เซนติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560